Category: Games

พรหมวิหารธรรมสำหรับเยาวชน

 

ข้อตกลงและเงื่อนไขการการใช้แอพพลิเคชั่นเกมส์ “พรหมวิหารธรรมสำหรับเยาวชน”

 

เกี่ยวกับแอพ

      แอพพลิเคชั่น “พรหมวิหารธรรมสำหรับเยาวชน” เป็นแอพสำหรับที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ พรหมวิหาร 4 ที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการทดสอบความรู้ของผู้เล่นและจัดลำดับคะแนนของผู้เล่น

นโยบายข้อมูลส่วนตัว

      แอพพลิเคชั่น “พรหมวิหารธขรรมสำหรับเยาวชน” ได้มีการเก็บเมล์และชื่อของผู้เล่นไว้ในระบบ แต่ไม่ได้เผยแผร่สู่สาธารณะ ซึ่งแอพพลิเคชั่นได้มีการเก็บคะแนนของผู้เล่นได้ เพื่อใช้ในการจัดลำดับเพื่อการแข่งขันเท่านั้น

ลักษณะการใช้งาน

      แอพพลิเคชั่น “พรหมวิหารธขรรมสำหรับเยาวชน” จะเล่นได้ก็ต่อเมื่อผู้เล่นจะต้องสมัครเป็นสมาชิกโดยมีข้อมูลที่ต้องกรอกคือ ชื่อ – สกุล, ชื่อเล่น, เมล์, รหัสผ่านที่ตั้งเอง

      เมื่อผู้เล่นมีข้อมูลแล้วก็จะสามารถเข้าเล่นเกมส์ได้ โดยผู้เล่นจะต้องเล่นตามด่านที่กำหนด โดยจะต้องเล่นให้ผ่านด่านก่อน ถึงจะเล่นด่านต่อไปได้

      ซึ่งในเกมส์มีทั้งหมด 4 ด่าน โดยแต่ละด่านก็จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป และความยากง่ายก็แตกต่างตาม level ที่ผู้พัฒนาได้ออกแบบ

เนื้อหา

เกี่ยวกับ พรหมวิหาร 4

ความหมายของพรหมวิหาร 4
   – พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่

      เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
      กรุณา ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
      มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
      อุเบกขา การรู้จักวางเฉย

 

คำอธิบายพรหมวิหาร 4
      1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น

      2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

         – ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์

         – ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์

      3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า “ดี” ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง

      4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

 

อ้างอิง http://www.learntripitaka.com/scruple/prom4.html

Read More